วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

เเมงกะพรุนมีพิษ

       





  1. ปัจจุบันแมงกะพรุนกล่องเริ่มมีมากขึ้น ข้อมูลจากการสำรวจพบว่า มีแมงกะพรุนกล่องอยู่ทั่วอ่าวไทย ตั้งแต่ภาคตะวันออกถึงภาคใต้ แม้ในบริเวณหาดทรายแหล่งท่องเที่ยว ทั้งในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน แต่มีรายงานผู้โดนต่อยในอ่าวไทยมากกว่า โดยช่วงนี้มีการรายงานว่าพบกะพรุนกล่องอยู่มากในแถบตะวันออก เช่น ชุมพรไปถึงพงัน
แมงกะพรุนกลุ่มนี้มีขนาดเล็ก หัวใหญ่ประมาณกำปั้น แต่สายยืดยาวได้ถึง 3 เมตร แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ สายเดี่ยว (ในแต่ละมุม) และสายเป็นกลุ่ม ปกติสายเดี่ยวจะมีพิษน้อยกว่าพวกสายกลุ่ม พบในไทย 10-11 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีพิษต่างกันไป ส่วนความรุนแรงที่เกิดกับผู้ป่วยขึ้นอยู่กับปริมาณพิษที่ได้รับ และมีความแพ้พิษระดับใด ไม่ได้ขึ้นกับความแข็งแรงของร่างกาย
2. สาเหตุที่กะพรุนกล่องเพิ่มขึ้นจากอดีต อาจเกิดจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงหรือจากระบบนิเวศได้รับผลกระทบจากมนุษย์ แต่การแก้ที่ต้นเหตุยังทำไม่ได้ นักท่องเที่ยวต้องเรียนรู้ และระมัดระวังตัว หาทางหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด โดยเฉพาะเจ้ากะพรุนกล่อง สามารถพบได้ทั้งกลางวันและกลางคืนในช่วงน้ำตื้น พบในเขตชายฝั่งหรือเกาะใกล้ฝั่ง เช่น สมุย พงัน เกาะล้าน มากกว่าในเกาะไกลฝั่ง เช่น สิมิลัน
3. เนื่องจากกะพรุนกล่องมีขนาดเล็ก จึงเคลื่อนที่เร็ว ตัวใส และพบในน้ำขุ่น โอกาสที่คนเล่นน้ำมองเห็นก่อนเป็นเรื่องยากมาก แต่ถ้าเป็นนักดำน้ำ อาจมองเห็นได้ นอกจากนี้ นักดำน้ำสวมเว็ทสูท โอกาสเป็นอันตรายน้อยกว่า เท่าที่มีรายงานผู้เสียชีวิตในประเทศไทย พบว่าเป็นคนเล่นน้ำตามชายฝั่งมากกว่านักดำน้ำ                           

เเมงกะพรุน

                                 


  ท้องทะเลอันสวยใส มักเป็นหมุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนอยู่ไม่ขาดสาย แต่การลงเล่นน้ำทะเลไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป หากไม่รู้จักระมัดระวังตัวเอง เหมือนกับสาวไทยรายหนึ่งที่ลงเล่นน้ำทะเลที่บริเวณเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี แล้วถูก 'แมงกะพรุนกล่อง' ต่อยเข้าที่ลำตัวหลายแห่ง จนเสียชีวิตในที่สุด
โดยทั่วไปแมงกะพรุนเป็นสัตว์เคลื่อนไหวช้า แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าเจ้าแมงกะพรุนตัวใสๆ บางชนิด ก็เคลื่อนไหวได้เร็วและยังมีพิษสงมหาศาล หากโดนต่อยเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้บาดเจ็บรุนแรงได้ ยิ่งถ้าได้รับพิษมากๆ ก็ถึงขั้นเสียชีวิตได้เหมือนกัน
วันนี้ ไทยรัฐออนไลน์ เลยจะพาไปทำความรู้จัก แมงกะพรุนกล่อง วายร้ายที่คร่าชีวิตนักท่องเที่ยวกันเสียหน่อย รวมถึงความรู้อื่นๆ เกี่ยวกับแมงกะพรุนที่คุณอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน โดยงานนี้ผู้เชี่ยวชาญทางทะเลอย่าง ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ออกมาให้ความรู้เรื่องนี้ผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ไว้อย่างน่าสนใจหลายข้อ พร้อมแล้ว ตามมาอ่านกันเลย

เเมงกะพรุนมีพิษ

                                     



 แมงกะพรุนทั่วโลกมีอยู่  200 ชนิด  เป็นสัตว์มีโพรงในลำตัว  ร่างกายประกอบไปด้วยน้ำส่วนใหญ่ ลักษณะคล้ายก้อนวุ้นเคลื่อนที่ได้  แต่การว่ายน้ำแบบเคลื่อนที่ของแมลงกระพรุนเป็นไปอย่างเชื่อช้าและว่ายไปตามกระแสน้ำสุดแต่คลื่นลมจะพาไป  แมงกะพรุนถูกจัดเป็นแพลงตอนชนิดหนึ่งและนับเป็นแพลงตอนขนาดใหญ่  บางตัวมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 40 เซนติเมตร  การที่แมงกะพรุนดำรงชีวิตเป็นแพลงตอนและล่องลอยไปตามคลื่นลมนี้เอง  ช่วงฤดูร้อนที่มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ภาคตะวันออกของอ่าวไทย  จึงมีแมงกะพรุนชุกชุมอยู่ตามชายทะเลแถบภาคตะวันออกดังนั้นการเล่นน้ำตามสถานตากอากาศแถบบางแสน  พัทยา  ระยอง  จึงอาจถูกแมงกะพรุนไฟได้  รูปร่างแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม ทางด้านนอกของร่มเป็นรูปโค้งผิวเรียบ  ด้านใต้มีปากอยู่ตรงกลางและมีส่วนยื่นรอบปากออกไป  แมงกะพรุนทุกชนิดมีพิษพบมากบริเวณหนวดและส่วนยื่นรอบปาก    เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยการสัมผัส  เข็มพิษจะถูกปล่อยออกมาคล้ายฉมวกพุ่งแทงเข้าไปที่ผิวหนังของเหยื่อหรือศัตรู  น้ำพิษที่อยู่ภายในกระเปาะอาจทำให้เหยื่อขนาดเล็กสลบและตายได้    ตามปกติแมงกะพรุนเป็นสัตว์กินเนื้อ  อาหารที่กินได้แก่  ปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กที่อาศัยตามผิวทะเลโดยแมงกะพรุนใช้เข็มพิษฆ่าเหยื่อ  และรวบจับใส่ปากเข้าไปย่อยภายในท่อทางเดินอาหาร  ส่วนกากอาหารที่ย่อยไม่ได้จะถูกคายทางปาก   แมงกะพรุนส่วนใหญ่มีเพศแยกกันเป็นตัวผู้และตัวเมีย  แต่ต่างจากรูปร่างภายนอกไม่ปรากฏลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจน  การผสมพันธุ์เกิดโดยตัวผู้สร้างเสปิร์มส่งออกไปผสมกับไข่ตัวเมีย  หรืออาจเป็นการผสมกันภายนอกลำตัว  ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเจริญพัฒนาเป็นตัวอ่อน  ดำรงชีวิตเป็นแพลงตอนชั่วคราว  แล้วจากนั้นจะว่ายไปเกาะพื้นเปลี่ยนรูปร่างเป็นโพลิปสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยการแบ่งตัวออกเป็นชั้นๆ  หลุดไปเป็นแมงกระพรุนตัวเล็กๆแล้วเติบโตเป็นตัวเต็มไว้ในเวลาต่อมา  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518) 

เเมงกะพรุนไม่มีพิษ


                   ภาพแมงกะพรุนใต้น้ำ


แมงกระพรุน

ภาพถ่ายครั้งแรกของนักชีววิทยาชาวรัสเซีย Alexander Semenov ในเดือนมกราคม โดยเลือกที่จะถ่าย ชุดภาพใต้น้ำทางวิทยาศาสตร์ เขาได้ปลดปล่อยภาพในแง่มุมซึ่งยากที่จะเห็นได้ในแต่ละวัน อีกครั้งและอีกครั้ง Semenov ได้จับภาพบางอย่างของชีวิตโลกใต้น้ำ นั่นก็คือแมงกะพรุนที่เป็นสายพันธุ์ที่ใหญ่มากในโลก เห็นได้จาก 2 เดือนสุดท้ายที่เก็บภาพมา มีเพียงแมงกะพรุนลอยหน้าผิวน้ำเต็มไปหมด

เเมงกะพรุน

แมงกะพรุนเกยหาดปรากฎการณ์จากหลายปัจจัย                   

แมงกะพรุน 

               ช่วงนี้ทะเลไทยมีแมงกะพรุนขึ้นมามาก จากชะอำ ไปหัวหิน ไประยอง ไปจันทร์ตราด มีใครต่อใครถามมาหลายราย ผมเลยเขียน 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับแมงกะพรุนมาให้เพื่อนธรณ์ผู้อาจสนใจหรือเอาไว้คุยอวดชาวบ้านก็ได้ครับ
               1. แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีอายุสั้นมาก ปรกติแล้ววงจรชีวิตน้อยกว่า 1 ปี แถมช่วงที่เราเห็นเขาลอยตุ๊บป่องอยู่ในน้ำ ยังเป็นแค่ช่วงหนึ่งของชีวิต เพราะช่วงต้นแมงกะพรุนจะอยู่ติดกับพื้น ก่อนปล่อยลูกลอยออกมาทีละตัว ช่วงทีลอยในน้ำเรียกว่า Medusa หรือนังผมงูเก็งกองรายนั้นแหละ
               2. แมงกะพรุนมีนับพันชนิด จะเอาแบบเหมาน่าจะเกิน 2,000 ชนิด มีตั้งแต่ตัวเท่าหัวเข็มหมุดไปจนถึงตัวใหญ่กว่าคนด้วยซ้ำ แต่ขนาดไม่เกี่ยวกับพิษ โดยเฉพาะเจ้าตัวใหญ่อย่างแมงกะพรุนแผงคอสิงโต ถือเป็นเป้าหมายในการถ่ายภาพใต้น้ำชั้นยอด เป็นเหมือนยานอวกาศที่มีลูกปลาและสัตว์อาศัยเต็มไปหมด ผมเคยไปลอยตุ๊บป่องถ่ายภาพกับเธอเป็นชั่วโมง ไม่เบื่อครับ
               3. เนื่องจากชีวิตของแมงกะพรุนเกิดเร็วตายเร็ว จึงสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดี โดยเฉพาะปริมาณของแมงกะพรุนที่มีมากขึ้นหรือน้อยลง เป็นไปตามอาหารของแมงกะพรุนเป็นหลัก
               4. แมงกะพรุนกินแพลงก์ตอนจิ๋ว ตั้งแต่แพลงก์ตอนพืช เรื่อยไปจนถึงแพลงก์ตอนสัตว์ รวมทั้งลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน หากมีน้ำจืดไหลลงทะเลมาก บนแผ่นดินมีปุ๋ยหรือมีธาตุอาหารเร่งการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนเยอะ ปริมาณแพลงก์ตอนมาก ลูกแมงกะพรุนก็รอดมาก ปริมาณจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเห็นว่าในช่วงปลายฝนต้นหนาว น้ำจากแม่น้ำไหลลงทะเลพลั่ก ๆ เราจะเจอแมงกะพรุนเยอะเป็นพิเศษ
               5. แมงกะพรุนไม่ได้เป็นสัตว์สังคม ไม่จำเป็นต้องอยู่รวมกัน เผอิญแมงกะพรุนกำหนดทิศทางในการเดินทางของตัวเองไม่ได้ ต้องปล่อยให้กระแสน้ำพาไป อย่างดีก็ได้กระพือนิดหน่อย แมงกะพรุนถือเป็นแพลงก์ตอนครับ การมารวมกันของแมงกะพรุนจึงไม่ใช่มาโดยสมัครใจ แต่เชื่อว่าเป็นแมงกะพรุนรุ่นนั้นที่โตมาพร้อมกันในจังหวะที่มีอาหารมากเป็นพิเศษ                                        

เเมงกระพรุนไฟ

                           



                                            

   เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร มีหลายชนิดเช่น แมงกะพรุนจานหรือแมงกะพรุนหนัง ซึ่งกินได้ ส่วนแมงกะพรุนถ้วยหรือแมงกะพรุนไฟนั้นมีพิษ
            

เเมงกระพรุนปีศาจร้าย

                             





                                             รูปภาพ แมงกะพรุน ปีศาจร้ายใต้ทะเล


 แมงกะพรุน ปีศาจร้ายใต้ทะเล แมงกะพรุน ไม่ใช่สัตว์จำพวกปลา แมงกะพรุน เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเล มีมากกว่า 1,500 ชนิด แมงกะพรุนแต่ละชนิดก็จะอยู่อาศัยในพื้นที่ๆ ต่างกันตามแต่ระดับความลึกของทะเล และอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อตัวมัน แมงกะพรุนสวยๆ เหล่านี้ ล้วนมีพิษ สามารถต่อยให้เกิดบาดแผล สร้างความเจ็บปวดแก่เราได้ เพราะฉะนั้น อย่าได้ประมาทแมงกะพรุนเชียว